ประวัตินายอุดม ฐิตวัฒนะสกุล 179  ม.3  ต.ดอนคลัง  อ.ดำเนินสะดวก  จ.ราชบุรี  เกิดวันที่  16  สิงหาคม  2508 สมรสกับนางดุจฤดี  ฐิตวัฒนะสกุล  มีธิดา 2 คน  ด.ญ.ณัฐวรี ฐิตวัฒนะสกุล  ด.ญ.ทรรศิกา  ฐิตวัฒนะสกุล การศึกษา  มัธยม  โรงเรียน  ปัญญาวรคุณ กรุงเทพฯ  ปี  2521 – 2526 ปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  (วิทยาศาสตร์บัณฑิต) ปี 2527-2530 นักธรรมชั้นโท  สนามหลวง  ปี 2530-2531

ประวัติการทำงาน -ลูกจ้างชั่วคราว  ทบวงมหาวิทยาลัย  ปี  2531-2532
-นักวิชาการ  บ.เฟอร์ติโนวา (ประเทศไทย)  จำกัด ปี 2532-2537
-นักวิชาการ บ.โฟรแด็กซ์ (เนเธอร์แลนด์)  ปี 2537-2538
-นักวิชาการอิสระปี 2538-2540 -เจ้าของธุรกิจ  อุดมการ์เด้น (www.udomgarden.com)ปี 2540
– ปัจจุบัน -ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี -ศูนย์เรียนรู้การศึกษานอกระบบ + ศึกษาตามอัธยาศัย
-แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กรมส่งเสริมการเกษตร
-ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (เครือข่าย กปร.)
-ศูนย์การฝึกนิสิต นักศึกษา โครงการสหกิจศึกษา  (สกอ.)
-อาจารย์พิเศษ  สถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับ อาชีวะ และอุดมศึกษา ปี 2543-ปัจจุบัน
-นายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ปี 2552-2556
-ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2550
-อนุกรรมาธิการ  พิจารณาศึกษา การจัดดำเนินการ สภาการเกษตรแห่งชาติ  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ปี  2550
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช (Cites)  ปี  2552– 2553 (มติ ครม.)
-อนุกรรมการพืชสวน ในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
-อนุกรรมการพืชอนุรักษ์
-อนุกรรมการเตรียมการและยกร่างกฎหมาย ลำดับรองเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
-คณะทำงานศึกษาการกระจายสินค้าเกษตร  ประเภทไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้เข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียแบบมีส่วนร่วม
-ที่ปรึกษาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพ่อหลวง  กองพันทหารสื่อสาร กรมการสื่อสารทหาร
-กรรมการที่ปรึกษาสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
-ที่ปรึกษาสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย
-ที่ปรึกษาพิเศษศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.สุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
-ที่ปรึกษาสภาวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
-วิทยากรรายการศึกษาทัศน์สารคดีเพื่อการศึกษาตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สถานีโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล -ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี -ประธานคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรและยุวเกษตรกร  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
-กรรมการจัดงานสีสันพันธุ์ไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ -ประธานคณะทำงานจัดการประกวดพืชสวน งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์  ปี2554 -คณะทำงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เกษตรแฟร์  ปี 2554
-ประธานกรรมการฝ่ายประมูลไม้  งานสีสันพันธุ์ไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ
-ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการประสานงานนิเทศสัมพันธ์ มูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
-นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติปี 2557-2558
-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประจำกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนช. ปี 2557-2558
-กรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตร  ปี 2558 -อนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดราชบุรี 2558
เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ
-เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำสวน  ปี 2549 -นิสิตเก่าดีเด่น  สมาคมนิสิตเก่า  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์  ปี 2550 -ผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการเกษตรดีเด่น สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย
-รางวัลผู้ทำดีตามโครงการเมืองไทย   เมืองคนดี  (ยกย่องเชิดชูเกียรติ) ปี 2551  กรมการศาสนา
-ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
-โล่ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการเกษตรดีเด่นโดย ฯพณฯ  ธีระ วงศ์สมุทร  รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์
-โล่ประกาศเกียรติคุณ โครงการสอนแบบทวิภาคี โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.นครปฐม
-เกียรติบัตรมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล
-รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการฯ
-รางวัลเกษตรศาสตร์ปราดเปรื่อง  รุ่นที่  10  สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้สนับสนุนการเรียนการสอน คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    (กำแพงแสน)  ปี 2558

ข้อมูลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ.2549 เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำสวน และในปีพ.ศ.2549 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย  เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2508 ณ บ้านเลขที่ 35/1 หมู่ 5 แขวงหลักสอง เขตหนองแขม จ.กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของคุณพ่อพิชัย ฐิตวัฒนะสกุล ซึ่งได้รับรางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ ใน พ.ศ.2543 และ คุณแม่สนอง ฐิตวัฒนะสกุล เป็นบุตรลำดับที่ 4 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ซึ่งประกอบด้วย พี่ชาย 3 คน คือ พันตำรวจเอกสมเดช ฐิตวัฒนะสกุล นาวาเอกพิเศษนพดล ฐิตวัฒนะสกุล นายดอน  ฐิตวัฒนะสกุล  และน้องสาว 2 คน คือ นางวรรณี ธำรงวุฒิ และ น.ส.วรรณา ฐิตวัฒนะสกุล สมรสกับนางดุจฤดี ฐิตวัฒนะสกุล (พลอยเกษม) มีธิดา 2 คน คือ ด.ญ.ณัฐวรีย์ ฐิตวัฒนะสกุล และ ด.ญ.ทรรศิกา  ฐิตวัฒนะสกุล ปัจจุบันพำนักอยู่บ้านเลขที่ 179 ม.3 ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งครอบครัวฐิตวัฒนะสกุล เป็นครอบครัวของเกษตรกรที่มีความคิดก้าวหน้า เป็นผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้รุ่น บุกเบิกของประเทศไทย กล้วยไม้พันธุ์แรกๆ ที่ปลูก คือกล้วยไม้หวาย  มาดามปอมปาร์ดัว (Dendrobium)  และหวายซีซาร์ (Dendrobium) และได้เผยแพร่ไปสู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง จนมีการปลูกอย่างแพร่หลาย ทำให้เขตหนองแขมกลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยไม้แหล่งใหญ่ของไทย และจำหน่ายทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

 

 

ด้านการศึกษา

จบ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก โรงเรียนปัญญาวรคุณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2526 การ ศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2530 นอกจากนี้ยังได้รับ ปริญญาวิทยาศาตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในปี พ.ศ.2549  อีกทั้งยังเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์เพื่อศึกษาหลักธรรมอีก 2 ปี หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ช่วง ปี พ.ศ.2530-2531  ณ วัดหนังราชวรวิหาร บางขุนเทียน  ซึ่งได้พากเพียรศึกษาธรรมะจนได้ ความรู้ทางธรรมระดับนักธรรมโท ใน ช่วงศึกษาเล่าเรียน ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุดม ให้ความสำคัญทั้งการเรียนในชั้นเรียนและการร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยอย่าง ต่อเนื่อง เป็นนักดนตรีในวงดนตรีลูกทุ่งรวมดาวกระจุย และเป็นนักจัดรายการวิทยุ คลื่น AM.1107 KHz. ของมหาวิทยาลัยฯ เป็นหัวหน้าตึกพักชายที่ 8  ประธานเชียร์ชมรมชาวตึกชาวหอ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ นักกีฬาชกมวย สนใจกีฬาว่ายน้ำและเข้าอบรมหลักสูตรว่ายน้ำชั้นสูงจนได้เป็นครูสอนว่ายน้ำใน โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ
ด้านการทำงาน
อุดม ฐิตวัฒนะสกุล เริ่มประกอบอาชีพหลังจบการศึกษาระดับปริญญา ด้วยการทำงานในตำแหน่งนักวิชาการเกษตร  ในบริษัทเอกชนด้านเคมีเกษตรและวัสดุภัณฑ์ โดยทำงานอย่างมุ่งมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ จนก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยลำดับ จนได้รับตำแหน่งนักวิชาการเกษตร จากบริษัทโฟรแดกซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศอินเดีย ต่อ มาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 (Tomyumkung crisis) บริษัทประสบปัญหาทำให้ต้องออกมาค้นหาโอกาสให้ตนเอง ด้วยการที่เติบโตจากครอบครัวเกษตรกร จึงเริ่มต้นด้วยการเข้ามาบุกเบิกที่ดินของครอบครัวที่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ในช่วงแรกยังเป็นช่วงของการค้นหา จึงปลูกพืชหลายชนิด ทั้งพืชสวนครัว พืชล้มลุก ไม้ดอกไม้ประดับ และจำหน่ายผลผลิตเองทั้งส่งและปลีก ต่อมาจึงพบว่าไม้ประดับเป็นพืชที่ได้รับความนิยม กอปรกับอุปสงค์ในตลาดมากกว่าอุปทาน  จึงทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่มีปริมาณความต้องการที่มากและมุ่งเน้นมายังแหล่งผลิตในประเทศ ไทย ซึ่งเป็นช่องทางทางการตลาดที่สำคัญ จึงขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดห้องปฏิบัติการ (laboratory) เพื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี และพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความแปลกใหม่ สวยงามและมีคุณภาพ รวมทั้งการปลูกที่มีการควบคุมอย่างดี ภายใต้กระบวนการปลูกที่ทันสมัยตามหลักเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ลูกค้าให้การยอมรับในคุณภาพ สวนอุดมการ์เด้นจึงเป็น ผู้ผลิตไม้ใบส่งออกรายใหญ่ในจังหวัดราชบุรี และเป็นรายใหญ่อีกแหล่งหนึ่งของประเทศไทย สวนอุดม การ์เด้น ตั้งอยู่เลขที่ 179 ม.3 ต.ดอนคลัง อ.ดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ปลูกไม้ประดับพันธุ์ดีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มอนสเตร่า เซลุ่มมะละกอ หน้าวัวใบ บอนสี ฟิโลฯใบไขว้ มรกตแดง เล็บครุฑ และไม้ใบอื่นๆ อีกหลายชนิด โดยจำหน่ายทั้งไม้ประดับต้นและตัดใบ ซึ่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหรัฐ อาหรับอิมิเรต เกาหลีใต้ อังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกา  โดยมีศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชของตนเอง ซึ่งทำหน้าที่ในการพัฒนาสายพันธุ์ พรรณพืชในกลุ่มไม้ใบ อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ของพืชในกลุ่มไม้ใบ เช่น ฟิโลฯ โกลเด้นเจ้าพระยา (philodendron golden chaopraya hybrid)  เป็นไม้ใหม่ที่มีใบใหญ่ หนา  รูปใบหยักสวยงาม ทนทานต่อโรคต่างๆ  เล็บครุฑโชค ซึ่งมีความต้านทานโรคแมลง มีลักษณะใบหยิกเป็นรูปถ้วย ลำต้นตรงยาว สีเขียวสม่ำเสมอ ปลูกง่าย ฟิโลฯ ซานาดู (philodendron xanadu hybrid)  ปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว ใบหนา ก้านยาว มีความทนทานหลังจากตัดใบจากต้น ถ้าปลูกเป็นไม้กระถางจะทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีทั้งอากาศร้อนและอากาศเย็น

         นอก จากนี้ในกระบวนการปลูกพืชของสวนอุดมการ์เด้น ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ประกอบกับ การปลูกภายใต้หลักเกษตรอินทรีย์ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีอายุการใช้งานนานกว่าไม้ตัดใบทั่วไปกว่า 40% นอกจากนี้ยังยึดมั่นการดำเนินงานตามรอยพระราชดำริในแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอ เพียง ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มของเหลือทิ้งที่ไร้ค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น โฟม สแลนคลุมหลังคา ใบสนที่ร่วงหล่น กาบมะพร้าวที่เหลือใช้จากการ ทำกระบะปลูกกล้วยไม้ อิฐแตกหัก เป็นต้น ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่มาทำการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาเป็นวัสดุปลูก นอกจากนี้ยังมีระบบการบริหารจัดการภายในสวนเป็นอย่างดีและมีมาตรฐาน  โดยในพื้นที่เพาะปลูก กว่า 60 ไร่ ใช้แรงงานคนเพียง 8 คน อีกทั้งยังมีระบบการจัดการน้ำที่ดีในระบบบริหารน้ำแบบหมุนเวียนเพื่อการ อนุรักษ์ โดยส่วนใหญ่ใช้น้ำหมุนเวียนอยู่ภายในสวน ไม่ปล่อยน้ำเสียจากภายในสวนออกสู่ภายนอก ทำให้บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไม้ดอกและไม้ประดับในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้เชิญ คุณอุดม ไปบรรยายพิเศษ เรื่องการทำไม้ตัดใบเชิงชีวภาพ ในงานประชุมลูกค้าสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2553 ด้านบทบาททางสังคม

สวน อุดมการ์เด้น ตระหนักถึงปรัชญาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมหรือศึกษาเรียนรู้ โดยพัฒนาสภาพทางกายภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษาหลายสถาบันทั่วประเทศ อาทิ โครงการลูกพระดาบส มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และหน่วยงานอื่นๆ ที่ขอเข้าศึกษาดูงานมากมาย นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างเป็นทางการจากหลาย หน่วยงาน อาทิ 1)ศูนย์ การเรียนรู้ตามแนวพ่อหลวง กรมการสื่อสารทหาร กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (เครือข่าย) กปร. 3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 4) ศูนย์เรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 5)  แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป อาทิ เป็นแหล่งข้อมูลในโครงการปริญญาโทสำหรับผู้ บริหาร เรื่อง แผนธุรกิจไม้ตัดใบเพื่อการค้า โดย นางวรรณี ธำรงวุฒิ นางสาวลัดดา ชุณห์วิจิตรา และนายฉัตรชัย บุศยพลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ ในสถาบันการศึกษาต่างๆกว่า10 สถาบัน อุดม  เข้าเป็นสมาชิกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2550 ได้เข้าร่วมการดำเนินงานของสมาคมฯ อย่างไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จนได้รับการยอมรับในบรรดาสมาชิก และได้รับการคัดเลือกเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ใน ปี พ.ศ.2552  ซึ่งได้สร้างผลงาน ที่ส่งเสริมให้สมาคมฯ มีผลงานที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมวลสมาชิก ตลอดจนบุคคลทั่วไป โดยการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจของสมาคมฯ ทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาคมฯ มีผลงานที่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้งที่หน่วยงานต่างๆ ได้เชิญ อุดม เข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานจัดงานต่างๆ ในฐานะนายกสมาคมฯ ได้ส่งเสริมให้สมาคมฯได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานต่างๆ ระดับชาติหลายงาน ดังนี้ 1)   งานในประเทศ ได้แก่ งานบ้านและสวนแฟร์ งานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ โดยร่วมกับ คณะกรรมการจัดงานมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานครและกรมส่งเสริมการเกษตร งานเกษตรแฟร์  งานมหกรรมไผ่แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ งานประจำปีสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย งานเปิดบ้านวิชาการเกษตร  งานมหกรรมพืชสวนโลก งานราชพฤกษ์ รวมใจภักดิ์ รักพ่อหลวง เป็นต้น 2)   งานต่างประเทศ ได้แก่ – งาน BATAM INTERNATIONAL HORTIFEST 2010 ซึ่งสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมผู้ส่งออก ไม้ดอก ไม้ประดับและสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศประจำกรุงจาการ์ตา ร่วมนำผลผลิตไม้ดอกไม้ประดับของไทย ร่วมแสดงในงานแสดงไม้ดอกไม้ประดับในเมืองยอร์ค จาการ์ต้า  ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 15-22 กรกฎาคม 2553 และได้รับความชื่นชมและชื่นชอบจากผู้เข้าเยี่ยมชมภายใต้โครงการ ศึกษาการกระจายสินค้าเกษตรประเภทไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่ ตลาดอินโดนีเซียโดยการสนับสนุนของ นายชุมเจตน์ กาญจนเกษร อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงจาการ์ตา – ผู้แทนประเทศไทย งานแถลงข่าว HORTI ASIA งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย จากความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรเป็นอย่างดี จึงได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษให้แก่หน่วยงานต่างๆ มากมาย อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน โรงพยาบาลศิริราช กองทัพบก กองทัพเรือ กลุ่มงานกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ด้านตำแหน่งทางสังคม อุดม ได้ดำรงตำแหน่งต่างๆมากมาย ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย และตำแหน่งอื่นทั้งอดีตและปัจจุบัน ดังนี้

  • อดีตอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดดำเนินการ สภาการเกษตรแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อดีตที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช (CITES) (ประกาศคณะรัฐมนตรี)
  • อดีตอนุกรรมการพืชสวนในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
  • อดีตอนุกรรมการพืชอนุรักษ์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • อดีตอนุกรรมการเตรียมการและยกร่างกฎหมายลำดับรองเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
  • ที่ปรึกษาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวพ่อหลวง กรมการสื่อสารทหาร กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย
  • คณะทำงานศึกษาการกระจายสินค้าเกษตร ประเภทไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้ เข้าสู่ตลาดอินโดนีเซีย แบบมีส่วนร่วม
  • กรรมการที่ปรึกษาสมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาพิเศษศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
  • วิทยากร รายการศึกษาทัศน์สารคดีเพื่อการศึกษาตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว  สถานีโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล

ที่ปรึกษาสภาวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร

  • ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.ดำเนินสะดวก  จ.ราชบุรี
  • ประธานคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรและยุวเกษตรกร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
  • ประธานกรรมการฝ่ายประมูลพันธุ์ไม้งานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ
  • กรรมการจัดงานสีสันพรรณไม้เทิดไท้บรมราชินีนาถ
  • ที่ปรึกษาการจัดงานวังน้ำเขียวฟลอร่าแฟนตาเซีย
  • คณะทำงานจัดการประกวดพืชสวน งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ปี2549
  • คณะกรรมการบริหารการจัดงานราชพฤกษ์ รวมใจภักดิ์ รักพ่อหลวง
  • ประธานคณะกรรมการ งานสีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ มูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
  • ประธานกรรมการประกวดพันธุ์พืชประดับ งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554
  • คณะทำงาน “เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) เกษตรแฟร์ปี2554
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการประสานงานและนิเทศสัมพันธ์ มูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ
  • เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาทำสวน พ.ศ.2549
  • นิสิตเก่าดีเด่น สมาคมนิสิตเก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรม       ราชูปถัมภ์ พ.ศ.2550
  • รางวัลผู้ทำดีตามโครงการเมืองไทยเมืองคนดี (ยกย่องเชิดชูคนดี) ปี 2551 โดย กรมการศาสนา
    • รางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกรดีเด่น อาชีพทำสวน ระดับเขต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2  จ.ราชบุรี
  • ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • โล่ ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการเกษตรดีเด่น โดยฯพณฯ ธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและ                             สหกรณ์
  • โล่ประกาศเกียรติคุณ โครงการสอนแบบทวิภาคี โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.นครปฐม
  • เกียรติบัตรมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล *****โล่ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์แก่วงการเกษตรดีเด่น จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระ วงศ์สมุทร*****

อุดม ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทุกแขนง ทำให้ได้รับความสนใจ ติดตามความเคลื่อนไหวในภารกิจทุกด้านอย่างต่อเนื่องทำให้ มีผลงานที่ได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ มากมาย  อาทิ (รวบรวมเฉพาะที่นำเสนอในช่วงปี 2550 เป็นต้นไป)

  • · บทความสัมภาษณ์ หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นต้น
  • · บทความสัมภาษณ์ วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน วารสารตลาดไม้ประดับ วารสารไม้ดอกไม้ประดับ วารสารเคหะเกษตร วารสารพรรณไม้งามประดับสวน เป็นต้น
    แหล่งข้อมูลอื่น

    www.udomgarden.com www.youtube.com www.wikipedia.org