26. การเพิ่มพื้นที่ลำต้นในการเพิ่มผลผลิต พืชกลุ่มที่ออกดอกติดผลที่ลำต้นโดยการโน้มกิ่ง เป็นระยะเวลากว่า 14ปี ที่ อุดม ฐิตวัฒนะสกุล ได้มีผลงานทดลอง และเผยแพร่สู่สาธารณะ ถึงการเพิ่มพื้นที่ผิวของลำต้น เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มความสามารถในการออกดอกติดผล อย่าง ขนุน และหรือ พืชที่มีการออกดอกติดผลที่ลำต้นชนิดอื่นด้วย เช่น มะไฟ ตะลิงปลิง ลองกอง ทุเรียน เป็นต้น โดยลักษณะการเจริญเติบโตของพืชเกือบทุกชนิด จะเจริญเติบโตหนีแรงโน้มถ่วงของโลก ด้วยเหตุปัจจัยนี้เอง คุณอุดม เจ้าของอุดมการ์เด้น ได้ทำการโน้มกิ่งขนุน ตั้งแต่สภาพต้นยังเล็ก โดยใช้หลักการการเหี่ยวของเซลล์เป็นปัจจัยนำ เลียนแบบพืชกลุ่มเถาเลื้อยอย่างแตง แตงโม ที่มีการจัดทิศทางยอดช่วงเวลาบ่าย ไม่ให้เกิดการหัก จากความเต่งของเซลล์ ในช่วงเวลาเช้า หรือช่วงอวบน้ำ การโน้มกิ่งยอดของต้นขนุน ก็ใช้หลักการเดียวกัน จากการที่ยอดถูกโน้มไปด้านข้าง อยู่ในแนวเกือบระนาบ ยอดก็จะเจริญเติบโตหนีแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะเดียวกัน ด้านบนของกิ่งที่ถูกโน้ม ก็จะแตกกิ่งใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า กิ่งกระโดง ซึ่งเราก็สามารถใช้หลักการไปทำเพิ่มขึ้นได้อีก รวม 3-4กิ่งหลัก ต่อต้น โดยกิ่งทั้งหมดจะมีความแข็งแรงทนทานและความสามารถในการส่งอาหารและน้ำ ได้ดีกว่าต้นที่ตัดยอดและแตกกิ่งเองโดยธรรมชาติ โดยจะให้ผลผลิตมากกว่าต้นที่ไม่ได้เพิ่มพื้นที่ลำต้น ลดปัญหาการฉีกหักของกิ่ง จากกิ่งที่โค้งจะแข็งแรงกว่ากิ่งที่แหลมทำมุมขึ้นไปในปัจจัยเดียวกัน ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า สมบูรณ์กว่า และคาดว่ายาวนานกว่าต้นที่ไม่ได้โน้มกิ่ง

27. กระบวนการฝึกนิสิตนักศึกษาสร้างผู้นำสู่สังคมภาคการเกษตร เป็นเวลานับสิบปี ที่อุดมการ์เด้น ดำเนินสะดวก เปิดรับนิสิตนักศึกษาเข้ามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งระดับปริญญาตรี และสายอาชีพระดับ ปวช. ปวส. จนถึงวันนี้ มีบุคลากรคุณภาพ ที่ผ่านการฝึกงานจากอุดมการ์เด้น เข้าไปสู่ตลาดแรงงาน ภาควิชาการ ทั้งรัฐและเอกชน เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษา จะเป็นรูปแบบทั้งเป็นผู้รับและผู้ให้ มีการทำปัญหาพิเศษ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ฝึก 1เรื่องตลอดทั้งช่วงเวลาที่ฝึก 16สัปดาห์ มีการเรียนรู้งานฟาร์มและงานเทคโนโลยีชีวภาพ การออกแบบสร้างโรงเรือน การซ่อมสร้างวัสดุอุปกรณ์ การผลิตไม้ประดับ การผลิตไม้ตัดใบเชิงอดิเรกและพาณิชย์ การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาพันธุ์พืช การจัดการปุ๋ย ฮอร์โมน เคมีเกษตร วัสดุปลูก การวิเคราะห์ปัจจัยภาคการเกษตร การดูงานนอกสถานที่ การเป็นผู้ช่วยบรรยายสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ศึกษาดูงาน การปฏิบัติงานภายใต้ความกดดัน ปฏิบัติงานเป็นทีม การเป็นหัวหน้างาน การวางแผนคิด ตัดสินใจ ในปัจจัยแปรต่างๆ ทั้งการทดสอบและบรรยายสรุป ก่อนการจบการฝึกงาน ณ สถานประกอบการอุดมการ์เด้น เมืองโอ่งราชบุรี ที่ทุกคนจะมีความพร้อมไปประกอบอาชีพ ศึกษาต่อ หรือเป็นบุคลากรผู้นำในสังคม ให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนตลอดไปในอนาคต

28. การใช้สแลนเป็นวัสดุปลูกเฟิน ทดแทนการใช้ต้นเฟินจากป่า (กระเช้าสีดา) เป็นวัสดุปลูก เฟินเป็นพืชประดับที่มีการปลูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั้งในแลต่างประเทศ เฟินในกลุ่มที่หลายคนเรียกว่า ชายผ้าสีดา เขากวาง ที่มีลักษณะเด่นสวยสะดุดตา หลายคนซื้อไปปลูก บางคนก็ปลูกไม่สำเร็จ วัสดุปลูกส่วนใหญ่ จะให้น้ำหนักไปที่กาบห่อหุ้มที่เกาะติดกับต้นไม้ หรือคบไม้ของเฟินกลุ่มนี้ โดยมีรากเฟินอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านผู้หาของป่ามักจะเก็บและนำมาตัดเป็นชิ้น มีการนำไปใช้เป็นวัสดุปลูกเฟินตามบ้านเรือนอย่างเป็นที่นากลัวว่า จะหมดไปจากป่า อุดมการ์เด้น ดำเนิสะดวก ได้พัฒนาวัสดุปลูกทดแทน โดยการนำสแลนมาพับและผูกติดกับแผ่นพลาสติก เพื่อทดแทนวัสดุจากธรรมชาติที่นำมาจากป่า การเก็บข้อมูลปรากฏว่า เฟินสามารถเกาะติดและเจริญเติบโตได้ดี ไม่แพ้แผ่นกระเช้าสีดาเลยทีเดียว

29.การใช้เสาและเศษสแลนเป็นวัสดุผลิตไม้ตัดใบเพื่อการส่งออก จากการปลูกฟิโลเดนดรอน เพื่อการตัดใบ หลายชนิดไม่สามารถผลิตให้ได้คุณภาพ อีกทั้งยังมีวัชพืชรบกวนในแปลงผลิต การนำเสาปักระยะชิด และใช้สแลนพันรอบโคนเสา ทำให้ฟิโลเดนดรอนสามารถยึดเกาะ เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี โดยโตขึ้นตามเสาที่พันด้วยสแลนในแนวดิ่งคุณภาพก้านใบดี มีความชื้นพอเหมาะ จากสแลนที่พันทบกับกับเสา การให้ปุ๋ยลดลงเพราะให้โดยไม้ตรงจุดปลูกเท่านั้น การควบคุมกำจัดวัชพืชง่าย ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว

30. การใช้สแลนควบคุมการงอกของวัชพืช สแลนเส้นใยพลาสติกที่มีความเหนียวและคงทนต่อการใช้งาน มีสีดำโปร่งแสง นำมาทับซ้อนกัน 2-3ชั้น คลุมผิวหน้าดิน ส่วนทางเดินที่ไม่ได้เทคอนกรีตหรือปลูกพืช ก็สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ดี ประหยัดในการจัดการ แถมมีอายุการใช้งานยาวนานอีกด้วย