1.การใช้พืชประดับต้นเตี้ยคลุมดินในที่ลาดชัน เพื่อลดการพังทลายและการชะล้างหน้าดิน เป็นวัตถุประสงค์หลัก การตกแต่งพื้นที่ให้สวยงาม การรวบรวมพันธุ์เพื่อการพัฒนา รวมถึงการแยกเง้าเพื่อจำหน่าย หรือขยายปลูกเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี รวมถึงการปลูกเพื่อควบคุมการงอกของวัชพืช หรือลดปริมาณการเจริญเติบโตของวัชพืชได้อีกด้วย

2. การใช้พืชประดับต้นสูงปานกลางถึงสูงมากยึดดินและเพิ่มมูลค่าพื้นที่ จากเหตุปัจจัยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้พื้นที่นั้นในอดีตมิได้ใช้ประโยชน์เลย อย่างหมากเหลือง หมากแดง ดราเซียน่า ทองหลาง มะพร้าว มะริด ฯลฯ แล้วแต่ความเหมาะสมหรือความต้องการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ

3. การสร้างแปลงผลิตไม้ตัดใบในสภาพแวดล้อมดินเหนียวชุ่มน้ำให้ได้ผลผลิตสูง จากการผลิตไม้ประดับหรือไม้ตัดใบที่ต้องปลูกลงแปลงดินในอดีต ความเปียกชื้นมากในฤดูฝน หรือช่วงหลังจากการรดน้ำด้วยระบบน้ำแบบอัตโนมัติ ทำให้เกิดการเปียกชื้นหรือชื้นแฉะ เมื่อมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่นั้นนานๆ จากการเดินไปมาจะทำให้พื้นที่นั้นเกิดการขังน้ำและเป็นจุดท่วมขังตลอดทั้งปีทุกฤดูกาล พื้นที่ปลูกในบริเวณนั้นจะได้รับผลกระทบไปด้วยคือ การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตที่ลดลง กระบวนการการทำร่องดินแบบสลับร่องระบายน้ำแบบร่องปลูกผัก แต่เพิ่มความกว้างของร่องดินเป็น9เมตร (จากเดิม3.5-4 เมตร) เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูก และจักการวางดินจากการขุดดินเป็นร่องน้ำให้กลางร่องมีความสูงมากที่สุดและค่อยๆไล่ระดับซ้ายขวาลดลง จนไปถึงขอบร่องดินที่ติดอยู่กับชายน้ำให้ได้ความสูงเท่ากับความสูงในแนวระนาบเดิม จากนั้นมีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปริมาณ5ตันต่อไร่ ใช้เครื่องตีพรวนให้เข้ากัน และทำกระบวนการปลูกตามแนวขวางร่องแบบระยะชิด ซึ่งกระบวนกานนี้เองสามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากถึง 5.5เท่าของรูปแบบแปลงปลูกเดิมได้เป็นอย่างดี และขจัดปัญหาน้ำท่วมขังในแปลงตามแบบแปลงเก่าที่ทำแนวแปลงปลูกตามยาว

งานวิจัยสวนอุดมการ์เด้น3

4. การสร้างโรงเรือนแบบมีคุณภาพบนพื้นที่ราบบนหลักพื้นฐานแข็งแรง สวย ทน ถูก ไว ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการออกแบบการคำนวณโครงสร้างและการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์มาใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงการบริหารจัดการสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นตั้งแต่ขนย้ายเสาโรงเรือนเข้าพื้นที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ การใช้แรงงานขนย้ายเสาน้ำหนัก 78.3กิโลกรัมโดยประมาณ ต้องใช้คนอย่างน้อย 2คนขนเข้าพื้นที่ ซึ่งต้องใช้เวลาและแรงงานมาก โดยจากการออกแบบโครงสร้างโรงเรือน ก่อนสร้างจะทำให้รู้ว่าแนวเสา แนวถนน (ระบบขนส่งภายในโรงเรือน) อยู่ส่วนไหนเราจึงเริ่มทำถนนก่อนปักเสา แล้วสร้างรถขนของขึ้นโดยรถหนึ่งคันสามารถบรรทุกเสาได้อย่างน้อย 10ต้น เราใช้รถ 2คันกับคน2คน เคลื่อนย้ายเสานำเข้าพื้นที่ ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานในเบื้องต้น
การขึงสลิงที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างโรงเรือน จะสามารถทำคานแนวขวางสำหรับวางสแลนให้ตึงและมีประสิทธิภาพ การใช้สลิงยึดหัวเสาเข้ากับสเตย์(สมอบก) จะทำให้เสารอบนอกทุกด้านไม่ล้มเข้าสู่ศูนย์กลางเมื่อมีแรงยกและแรงกดของลม และน้ำฝนมากระทำ
การเย็บสแลนเข้ากับสลิงอ่อนตามตะเข็บข้างของสแลน สามารถทำให้ขอบสแลนทั้งผืนมีความแข็งแรง จากการกระจายแรงที่มากระทำกับสแลนในจุดที่ยึดโยงกับหัวเสาโรงเรือน กระบวนการทั้งหมดทำบนพื้นดิน ทำให้ทำงานง่ายและทำงานได้ไว จากนั้นมีกระบวนการนำขึ้นขึงให้ตึงอย่างเป็นระบบ สลับระดับบนล่าง เพื่อการระบายอากาศที่ดี มีการขึงสแลนด้านข้างโรงเรือนทั้งหมด เพื่อการกันแสงที่ส่องมาด้านข้าง และป้องกันลมในแนวระนาบ ที่จะพัดเข้ามาทำอันตรายโรงเรือนโดยตรง

5. การสร้างโรงเรือนแบบมีคุณภาพบนร่องสวน จะใช้หลักการเดียวกันกับการสร้างโรงเรือนบนพื้นราบ แต่จะมีเทคนิคที่แตกต่างบ้างเล็กน้อยคือ การขยับเสาเลื่อนตามระยะให้เหมาะสมโดยมิให้ใกล้ร่องน้ำหรืออยู่ในร่องน้ำ ทั้งนี้หลักพื้นฐานให้สแลนขึงได้ตึง จะต้องปักเสาให้ได้ระยะพอดีจากความกว้างของสแลนที่มีระยะลงตัวอยู่ที่ 2เมตร จาก1ช่อง จะใช้สแลน2ผืน (4เมตร) แต่การขึงสแลนเราจะขึงไปชน(ชิด)กับขอบเสาโรงเรือนที่ปักที่มีความหนาของเสาเฉพาะตัว การปักเสาศูนย์กลางถึงศูนย์กลางเสา จึงต้องบวกความหนาของเสาที่ปักเสมอ ดังนั้นเสาที่ปักในระยะที่ถัดไปอาจจะอยู่ชายร่องหรือลงร่องน้ำได้ ดังนั้นการแก้ปัญหาเราสามารถเพิ่มจำนวนสแลนจากช่อง2ผืนเป็น3ผืนได้ให้ลงตัวตามระยะของเสา การกำหนดช่องของการขึง สแลน จึงเป็นนัยสำคัญของการปักเสาที่จะทำให้ไม่ตกร่องน้ำ จากการบวกค่าความหนาของเสากับสแลนทุกครั้งที่มีการขยับเพิ่มเพื่อกำหนดให้ขึงสแลนได้ตึงทุกช่อง