ไม้ใบประดับเพื่อการส่งออกของไทย

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน ร่วมกับ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย “จัดทำิงานวิจัยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเชิงธุรกิจ”

ไม้ใบประดับ Foliage Plant
ใบไม้สวยๆไม่เพียงช่วยเยียวยาโลก ด้วยการดูดซับ CO2 ช่วยลดโลกร้อนหากการปลูกในบ้าน ในอาคาร พืชหลายชนิดยังสามารถลดสารพิษทีั่่ปลดปล่อยออกมาจากเฟอร์นิเจอร์ หรือวัสดุอปกรณ์สำนักงานได้อีกด้วย สุขภาพกายที่ดีจากลงแรงปลูกเลี้ยงและสุขภาพจิตที่เบิกบานจากการได้ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้พืชกลุ่มนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นทุกวัน
กระแสนิยมของตลาดต่างประเทศในช่วงนี้คือ ไม้ประดับเขตร้อน ซึ่งมีรูปทรงต้น ใบ สวยงามแปลกตา มีความคงทนในการวางประดับ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่เราสามารถปลูกไม้ประดับที่มีศักยภาพสูงเหล่านี้ได้ดีหากควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพ สามารถสร้างธุรกิจเกษตร ที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ผู้คนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศกันเลยทีเดียว
รูปแบบในการซื้อขาย
Finished plant คือไม้กระถางที่พร้อมใช้งานเมื่อถึงประเทศปลายทาง โดยอาจพักให้ฟื้นตัวเล็กน้อย หรือตกแต่งริดใบส่วนมากขนส่งทางเรือ ซึ่งสภาพแวดล้อมและระยะเวลาในการขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพและความสวยงาม Young plant material ซึ่งอาจเป็นต้นขนาดเล็ก (young plant) ซึ่งต้องไปปลูกต่ออีกระยะหนึ่งก่อนจำหน่าย หรือ กิ่งชำ ท่อนพันธุ์ (Cutting) หรือ ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ(in vitro cultures) ที่ต้องมี Nusery ปลูกเลี้ยงรองรับทั้งนี้ รูปแบบที่ต้องใช้ฝีมือ เช่น สานถัก ตัดแต่ง จัดราก เสียบยอด ติดตา จะสร้างสรรค์ไม้ประดับเดิมๆในรูปแบบใหม่ๆให้ตลาด ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

ไม้ใบประดับ Foliage Plant

ไม้ใบประดับ Foliage Plant

การส่งออกไม้ใบของไทยในปัจจุบ ัน
พืชส่งออก ว่านงาช้าง Sanseveria ที่กำลังได้รับความนิยม ดำเนินการส่งออกโดย บริษฐัท TOCไทยออร์คิด ส่งออกไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ปลูกในบริเวณจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม
ศักยภาพของประเทศไทย ในการผลิตพืชกลุ่มนี้เพื่อสงออกมีอยู่สูง
1)ด้านภูมิประเทศ เนื่องจากไทยเป็นประเทศในเขตร้อน จึงมีชนิดพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดมาก ทั้งยังมีความหลากหลาย มีโอกาสในการพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆได้ดี พืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง โดยไม่ต้องลงทุนสูงในเรืองโรงเรือนระบบปิ ดเพือสร้างความอบอุ่นให้กับพืช จึงสามารถผลิตได้โดยใช้พลังงานในการผลิตตาทำให้ได้เปรียบประเทศเขตหนาว
2)พื้นฐานด้านเกษตรที่ดี ไทยมีพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ดีจากธุรกิจกล้วยไม้ มีLab ขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อรองรับมากมาย เป็นโอกาสดีในการขยายพันธุ์ดี ได้จำนวนมาก และไ ด้ต้นพันธุ์ที่มีความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ คนไทยมีฝีมือดี ในการขยายพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ รวมถึง ประดิษฐ์ตัดแต่ง จัดทรงพืช เพื่อให ้ได้ชนิดพันธุ์ หรือรูปทรงใหม่เพื่อการค้า

งานวิจัยเพื่อการสนับสนุนการผลิตเชิงธุรกิจ
นอกจากการพัฒนาพันธุ์แล้ว ควรเน้นในเรื่อง การผลิตอย่างมีคุณภาพ ผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวขณะขนส่งในคอนเทนเนอร์ทางเรือเพื่อไปยังประเทศปลายทาง
การศึกษาความสามารถในการช่วยลด CO2 ของใบพืช ในระดับทรงพุ่ม Canopy Photosynthesis หรือความสามารถในการดูดซับสารพิษต่างๆ ก็ชวยเพิ่มมูลค่าของไม้ใบเขตร้อนได้ดี
ด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพของพืชกลุ่มนี้ ที่ผ่านมา ภาควิชาพืชสวน ม.เกษฐตรศาสตร์โดย พูนทรัพย์ และคณะ รวมทั้งนิสิตพืชสวนที่มีความสนใจ ได้ ศึกษาในเบื้องต้นไว้บ้าง โดยหลายเรื่องได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปลูกให้เข้าศึกษาในสวนที่ผลิตจริง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับโอกาสที่จะเกิดจากการปรับเปลี่ยนเสนทางขนส่งทางเรือที่สั้นลง (จากท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย ประเทศพม่า) ที่จะทำให้ สินค้าเกษตรไทยในอนาคตเข้าถึงตลาดยุโรปที่มีกำลังซื้อสูงมีมากขึ้น จึงต้องมีงานวิจัยที่ช่วยแก้ปัญหาทั้งการผลิตให้ได้คุณภาพมากขึ้น และการรักษาคุณภาพขณะขนส่งอย่างเพียงพอ เพราะนอกจากจะพัฒนาระบบผลิตเพื่อส่งออกของไทยแล้วยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าเกษตรที่มีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพโดยมีงานวิจัยที่น่าเชิ่อถือรองรับอีกด้วยเนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกของไทยต่อไปจะเป็นไปเพื่อคุณภาพมากกว่าเพื่อปริมาณเพื่อให้แข่งขันได้กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทีี่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า

่ ไม้ใบประดับเพื่อการส่งออกของไทย

ไม้ใบประดับเพื่อการส่งออกของไทย