11. การใช้พืชทองหลางแบบคลุมทรงพุ่ม ช่วยกระบวนการผลิตพืชสวน เกษตรกรไทยได้ใช้ประโยชน์จากพืชตระกูลถั่วอย่าง ทองหลาง มาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเราจะรู้จักเขตจังหวัดนนทบุรี ที่มีการปลูกทุเรียนสลับกับทองหลางที่มีลำต้นสูงใหญ่ โตสูงแข่งกัน ใบที่ล่วงหล่นลงมาก็ย่อยสลาย เพิ่มคุณค่าทางธาตุอาหารให้แก่ดิน และพืชที่ปลูกร่วมกัน รากทองหลางที่มีการเจริญเติบโตอยู่ก็สามารถยึดดินและดักจับเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่มากทางธรรมชาติในอดีต การเจริญเติบโตต้นใหญ่กลางร่องสวน ทำให้สูญเสียพื้นที่เป็นอย่างมาก จากข้อมูลดังกล่าว อุดมการ์เด้น ดำเนินสะดวก ได้พัฒนารูปแบบการปลูกและการใช้สอยอย่างเป็นรูปแบบ โดยนำทองหลางที่มีการเพาะชำแบบใส่เชื้อไรโซเบียม จากกรมวิชาการเกษตร นำไปปลูกข้างร่องน้ำกลางแจ้ง ระบบรากจะช่วยยึดดิน ลดการพังทลายของขอบร่อง พืชป่าหรือพืชต่างๆที่ปลูกด้านในถัดมาได้อาศัยรากจากต้นทองหลางที่ความสามารถตรึงไนโตรเจน(Nitrogen) ธาตุหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ส่งผ่านไปยังพืชป่า ผลไม้ หรือพืชยืนต้นต่างๆ การตัดแต่งควบคุมทรงต้น ขนาดพุ่มของทองหลาง จะทำให้ต้นทองหลางมีขนาดพุ่มเตี้ย กิ่งและใบที่ตัดออก นำมาคลุมโคนไม้ที่ปลูก เพื่อควบคุมการงอกและเจริญเติบโตของวัชพืช ลดการระเหยของน้ำหน้าผิวดิน ใช้เวลาย่อยสลายเป็นการเพิ่มธาตุอาหาร และเหมือนเป็นการเติมปุ๋ยพืชสดให้กับต้นไม้ เสมือนมีโรงงานผลิตปุ๋ยอยู่ใกล้กับต้นไม้ไว้ใช้เอง ต้นไม้ในวงศ์ไม้จันท์หอม(Santalum Albumหรือ Indian Sandalwood)  สามารถปลูกและเจริญเติบโตงอกงามได้ในสภาพดินเหนียว ที่อยู่ในเขตดำเนินสะดวก ราชบุรี ของไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

12. การปลูกพืชและไม้ผลในท่อคอนกรีตควบคุมบังคับการออกผลผลิตนอกฤดู พืชชนิดต่างๆที่ปลูกลงดิน ในสภาพแวดล้อมเปิด ไม่สามารถที่จะกำหนดการสร้างผลผลิตก่อนหรือหลังฤดูได้ง่าย จากสภาพความชื้นและการควบคุมรากที่แผ่ขยายไปไกลอย่างไร้ทิศทางและขอบเขตจำกัด การให้ธาตุอาหารที่เฉพาะเจาะจง มักต้องให้ในปริมาณที่สูง การควบคุมความชื้นเป็นไปได้ยากและใช้เวลายาวนานกว่าปกติ จากระดับน้ำใต้ดินที่มีมากโดยเฉพาะฤดูฝนจากแปลงทดลองของอุดมการ์เด้น ดำเนินสะดวก ได้ใช้ท่อคอนกรีตทำเป็นภาชนะปลูกกว่าสิบปีที่ผ่านมา
– พืชประดับที่ทำเป็นต้นพันธุ์เจริญเติบโตเร็วกว่าที่ปลูกลงดินทั่วไปมาก สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
– กลุ่มพืชประดับกึ่งยืนต้นและยืนต้น เจริญเติบโตเร็ว ขุดขายได้ไว และไม่มีอาการทรุดหลังจากขุดให้ลูกค้าไปแล้ว ถ้าเป็นต้นปาล์มที่ไม่ชอบการขุดย้าย ก็ใช้เทคนิคการปิดก้นท่อคอนกรีต จำกัดการเจริญเติบโต และการเดินทางของราก ก็สามารถขุดย้ายได้โดยไม่เกิดความเสียหาย
– กลุ่มพืชสวน เช่น ส้ม มะนาว ลำไย และไม้ยืนต้นอื่นที่ปลูกในรองหรือท่อคอนกรีต สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ดี ในกลุ่มของส้ม มะนาว สามารถควบคุมความเปียกชื้นที่เป็นปัจจัยในการออกดอกติดผล และโดยทั่วไปเกษตรกรต้องมาการบำรุงรักษา รวมถึงสร้างความเครียดให้พืชออกดอกติดผล โดยเฉพาะส้ม มะนาว ที่ต้องกักน้ำ แต่ในระบบธรรมชาติ มะนาวจะมีผลผลิตราคาสูง อยู่ในช่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม และจากข้อมูลของมะนาว การออกดอกติดผลจนถึงเก็บ จะใช้เวลาประมาณ 5เดือนครึ่ง ซึ่งนับถอยหลังไปแล้ว นั่นคือฤดูฝน ของภูมิภาคด้วยเช่นกัน ดังนั้นการปลูกมะนาวในท่อคอนกรีต ที่ปรับปรุงดินและยกสูงจากพื้นดินเดิม ในช่วงที่เราจะกักน้ำ ก็สามารถใช้พลาสติกปิดคลุมปากท่อคอนกรีตโคนต้นมะนาว เพื่อควบคุมความชื้นหรือที่เรียกว่า กักน้ำ ก็สามารถบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลในช่วงที่เกษตรกรต้องการได้ และจะเป็นช่วงสำคัญในการเก็บผลผลิตที่มีราคาแพงไว้รับประทาน หรือจำหน่ายได้ดีอีกด้วย
– กลุ่มพืชหัว เช่น กระชาย ขิง ข่า บอนสี ปทุมมา เผือก มัน ที่ปลูกในรองหรือท่อคอนกรีต ก็มาการเจริญเติบโตได้ดี มีการสะสมอาหารและลงหัวได้ดีด้วยเช่นกัน

13. การสร้างโต๊ะวางต้นไม้อย่างง่ายและรวดเร็ว จากปัญหาเรื่องการจัดวางกระถางต้นไม้และไม้ประดับกับพื้นดิน ทำให้วัชพืชปกคลุม ยากต่อการดูแลรักษา การถ่ายเทของอากาศน้อย ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งเกษตรกรต้องก้มทำงานและยังชื้นแฉะในช่วงฤดูฝน น้ำที่กระถางไม่ถ่ายเท บางครั้งยังมีสัตว์เลี้ยงรบกวน การสร้างโต๊ะสำหรับจัดวางต้นไม้เป็นภาระของเกษตรกรทั้งต้นทุนทางเทคนิคต่างๆ และวิธีการ รวมถึงความสวยงาม ความเป็นสัดส่วน และประโยชน์ใช้สอย การสร้างด้วยไม้หลายครั้งอายุการใช้งานไม่คงทนจากแมลงเล็กเข้าทำลาย อย่างมอด ปลวก เกิดการผุจากการย่อยสลาย การยึดโยงต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง การใช้โครงสร้างด้วยโลหะ ก็มีค่าใช้จ่ายสูง จากราคาวัสดุและการก่อสร้าง ทั้งยังต้องใช้ช่างผู้มีความรู้และชำนาญโดยเฉพาะ การใช้เสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมอัดแรงขนาดเล็ก (2นิ้ว) เป็นวัสดุที่หาได้มายากในปัจจุบัน แข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบาพอประมาณกว่าเสาคอนกรีตขนาดใหญ่ที่นิยมใช้กันในอดีต จากความเชื่อเรื่องของการรับน้ำหนักบนพื้นผิว เสาคอนกรีตอัดแรงที่นิยมใช้ มีความยาวสองขนาดคือ เสา 1เมตร และ คาน 1.20เมตร เมื่อเรากำหนดพื้นที่การสร้างและทางเดินแล้ว ทั้งด้านกว้างและด้านยาวของพื้นที่ ก็สามารถระบุจำนวนเสาและคานได้ในรายละเอียดโดยช่องทางเดินและช่องสร้างโต๊ะ จะอยู่ที่ช่องละ 1เมตรเท่ากัน ระยะห่างของเสาตามความยาวจะอยู่ราว 1.5เมตร ใช้เสา 1เมตร ต่อให้เป็นแถวและแนวลึกราว 0.25-0.30 เมตร แล้วแต่สภาพดินและความต้องการ จากนั้นใช้คาน 1.20เมตร วางพาดบนเสาที่ตอกแล้ว ปลายคานจะเลยจากเสาออกไปข้างละ 0.10เมตร เท่ากับพื้นผิวบนโต๊ะจะอยู่ที่กว้าง 1.20เมตร เท่ากับความยาวของคาน ส่วนพื้นล่างจะกว้าง 1เมตรเท่าเดิมทุกคานตามแนวขวาง ทุกๆระยะที่ทุก 1.50เมตร ตามแนวความยาวของโต๊ะ จะเป็นคานสำหรับรับคานตามแนวยาว จะใช้ท่อน้ำ ไม้ หรือวัสดุใดแทนก็ได้ ที่มีความแข็งแรงทนทาน ในการวางแผ่นพื้นโต๊ะ สำหรับช่วยกระจายน้ำหนัก ในการวางวัสดุสิ่งของ รวมถึงกระถางต้นไม้ให้ดูสวยงาม และเกิดประโยชน์จากการใช้งานตามแต่ละลักษณะงาน

14. การสร้างทางเดินอย่างประหยัดในร่องแปลงปลูก ร่องโต๊ะวางไม้อย่างประหยัดและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ จากการเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาศึกษาดูงานและเยี่ยมชมสวนอุดมการ์เด้น ดำเนินสะดวก มาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน จนได้ข้อสรุปและนำไปใช้ในการปฏิบัติคือ ทางยิ่งกว้าง ยิ่งเดินสบาย แต่หากต้องทำทางให้แคบที่สุด เพื่อประหยัดการก่อสร้างและยังคงเดินสบาย ทำงานได้ สำหรับคนไทย ความกว้างต้องไม่ต่ำกว่า 0.35เมตร จึงเป็นเหตุผลให้สวนอุดมการ์เด้น เข้าแบบทางเดินและเททางคอนกรีตอยู่ที่ 0.35เมตร สำหรับเส้นทางย่อยเป็นประโยชน์ในการกำนดการทำงานอย่างประหยัดและรวดเร็วอีกด้วย

15. การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ(บ่อน้ำ) ใช้ในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ การเกษตรกรรมทุกแขนง ล้วนแล้วแต่ต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยผลิตสำคัญ การบริหารจัดการน้ำที่ไม่สอดคล้องมักมีปัญหาต่างๆมากมาย สวนอุดมการ์เด้น ดำเนินสะดวก ให้ความสำคัญเรื่องแหล่งน้ำถาวรในแปลงเป็นอย่างยิ่ง การออกแบบ วางแผนเรื่องน้ำ จุดกักเก็บน้ำ จุดวางดินจากการขุด ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างฟาร์มที่ดี มีน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคตลอด อย่างไม่ขาดแม้ยามวิกฤติ ทั้งยังเป็นแก้มลิงได้ในยามฤดูฝน การพร่องน้ำไว้เตรียมรองรับสถานการณ์ น้ำฝนมาก สามารถทำได้เมื่อในฟาร์มมีบ่อน้ำที่มีขนาดความจุที่สอดคล้องกับพื้นที่ ดินที่ได้จากการขุด ก็จะใช้ถมที่ให้สูงสำหรับสร้างอาคารบ้านเรือน ที่พักอาศัย ลานจอดรถ สำนักงาน รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์จากพื้นที่ถมของกระบวนการจัดการ การขุดสร้างบ่อน้ำแล้วเสร็จจะต้องปลูกพืชสำหรับยึดดิน ลดการพังทลายรอบด้าน รวมถึงจุดวางดินที่มีน้ำหนักมาก ให้รากยึดเกาะดินไว้ แม้ในสภาพที่น้ำในบ่อน้อยและจุดวางดินที่มีน้ำหนักมากกว่าจุดอื่น ก็สามารถป้องกันการสไลด์หรือพังทลายของดินได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น แหล่งน้ำนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อเป็นแหล่งอาหาร ทั้งปลากินพืชและปลากินเนื้อ ตามสัดส่วน 20ต่อ1 เพื่อควบคุมปริมาณปลากินพืชไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป เป็นเหตุความหนาแน่นของประชากรปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และความสูญเสียของการให้อาหาร ต้นไม้ที่ปลูกรอบแหล่งน้ำก็จะทำให้มีความสามารถยึดดิน ป้องกันการกัดเซาะดินจากพฤติกรรมของปลา อีกทั้งยังสามารถให้ผลผลิตรูปแบบต่างๆ และผลผลิตในพืชที่ปลูกเช่น หมากเหลืองใช้ตัดใบ มะพร้าวเก็บผล ตีนเป็ดน้ำ เป็นต้น